วันพุธที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2557

ใช้บัตรเครดิตอย่างไร ที่ตรงใจและคุ้มค่า

ในสมัยนี้หากต้องการซื้อของที่คุณอยากได้แต่เงินไม่พอ หรือ เจอโปรโมชันโดนใจคุณ สิ่งที่จำเป็นจะต้องใช้จ่าย ด้วยบัตรพลาสติกแสนวิเศษที่สามารถต่อรองคุณค่าได้ นั่นก็คือ บัตรเครดิตนั่นเอง มาดูกันว่าการทำบัตรเครดิตนั้นจะต้องดูปัจจัยกันบ้าง หากคุณอยากจะมีสักใบหนึ่ง และมองสำรวจกันว่าจะต้องทำบัตรเครดิตที่ไหนดี เพื่อที่จะให้เราได้ผลประโยชน์มากที่สุดด้วยครับ

1.  ดอกเบี้ยต่ำที่สุด
เผื่อไว้ในกรณี ที่เราไม่สามารถชำระเงินเต็มจำนวน ตามยอดที่ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต โดยเลือกชำระตามยอดขั้นต่ำที่บัตรเครดิตที่กำหนดไว้แทน ซึ่งจะช่วยให้เราเสียดอกเบี้ยน้อยลง

2.  วงเงินบัตรเครดิต
การทำบัตรเครดิตในส่วนนี้ เราต้องมองในส่วนของวงเงินบัตรเครดิตด้วย ซึ่งควรเพียงพอกับกำลังเงินที่เราสารถจะชำระได้ ไม่ควรขอวงเงิน หรือ ขอเพิ่มวงเงินให้สูงขึ้นกว่าเดิม เพื่อป้องกันการใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่าย ตามวงเงินบัตรเครดิตที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งหากทำบัตรเครดิตหายหรือถูกขโมยไปใช้งาน การมีวงเงินบัตรเครดิตสูงๆ อาจจะก่อปัญหาให้เราได้อย่างมาก

3.  ค่าธรรมเนียมรายปี
ควรเลือกสมัครบัตรเครดิตและใช้บัตรเครดิตที่ไม่มีค่าธรรมเนียมรายปี

4.  สิทธิ์ประโยชน์ ส่วนลด
บัตรที่เหมาะสมกับการใช้ชีวิตของเรา เช่น การให้ส่วนลดต่างๆ การให้เงินสด Cash Back คืนเข้าบัญชี การนำคะแนนสะสมมาชำระค่าสินค้า และบริการเพิ่มได้ หรือ การให้สิทธิพิเศษ ที่จอดรถ ฟรี ในที่ๆ ที่เราไปบ่อยๆ หรือการนำคะแนนสะสม มาแลกเป็นไมล์สะสมกับสายการบิน ซึ่งจะทำให้เราอาจได้เดินทางฟรีๆ

5.  กิจกรรมที่ทำบ่อยๆ
คุณลองถามตัวเองก่อนว่าเราทำกิจกรรมไหนบ่อยๆ เช่น เดินทาง รักสุขภาพ ท่องเที่ยว ช้อปปิ้ง รับประทานอาหาร ฯ เพราะถ้าเราชอบทำ หรือทำกิจกรรมไหนบ่อยๆ เราควรเลือกบัตรเครดิตที่มีโปรโมชั่นบัตรเครดิตร่วมกับ สายการบิน โรงพยาบาล คลินิก โรงแรม ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร นั้นๆ เพราะจะมีโปรโมชั่น ส่วนลดให้เป็นพิเศษอย่างสม่ำเสมอ ยกตัวอย่างเช่น:

-  ช็อปปิ้งที่ Central ก็ควรมีบัตรเครดิต เซ็นทรัลการ์ด

-  ช็อปปิ้งที่ Robinson ก็ควรมีบัตรเครดิต กสิกรไทย โรบินสัน

-  เดินทางกับ การบินไทย บ่อยๆ ก็ควรมีบัตรเครดิต อิออน รอยัล ออร์คิด

-  เดินทางกับ แอร์ เอเชีย บ่อยๆ ก็ควรมีบัตรเครดิต แอร์ เอเชีย กสิกรไทย

-  ใช้บริการด้านสุขภาพกับ โรงพยาบาลกรุงเทพ ก็ควรมีบัตรเครดิต โรงพยาบาลกรุงเทพ-กสิกรไทย เป็นต้น

วันอังคารที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2557

วิธีการเลือกใช้บัตรเครดิตอย่างชาญฉลาด

หากไม่อยากให้บัตรเครดิตมาครอบงำชีวิตของเราได้ เรามีวิธีใช้บัตรเครดิตมาให้เกิดประโยชน์สูงสุด (เราจะขอยกตัวอย่างบัตรขึ้นมา อาจมีการเปลี่ยนแปลงในเงื่อนไขของแต่ละประเภทบัตรเครดิต ตามวันและเวลาที่เปลี่ยนไป ขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคาร แต่ข้อมูลที่กล่าวถึงต่อไปนี้ เป็นประสบการณ์จากการใช้บัตรของผู้เขียน - ถึงวันที่ 25 สิงหาคม 2556)

ศึกษาโปรโมชั่นบัตรเครดิตและเงื่อนไขต่างๆ ของแต่ละบัตรก่อนสมัครบัตรเครดิต และเลือกใช้บัตรที่ตรงกับไลฟ์สไตล์ของเรา **โปรดพิจารณาเรื่องระยะเวลาของโปรโมชั่นบัตรเครดิต บางบัตรเสนอโปรโมชั่นพิเศษสุดๆ แต่อยู่ได้แค่ 3 เดือน หลังจากนั้น เราใช้รูดไปตั้งเยอะ มารู้ตัวอีกที ก็ตอนที่เห็นใบแจ้งยอดแล้วว่าไม่ได้เงินคืน


เราขอยกตัวอย่างการเลือกบัตรเครดิตดังนี้
-  หากเราบินสายการบินไทยบ่อยๆ เลือก บัตร KTC Royal Orchid Plus เพื่อสะสมไมล์แลกซื้อตั๋วบิน

-  หากเราช้อปปิ้งที่เซ็นทรัลบ่อยๆ เลือก บัตร Central Card ลด 5% เมื่อซื้อสินค้าในตัวห้างฯ

-  หากเราช้อปปิ้งที่พารากอน เดอะมอลล์ เอ็มโพเรียม เลือก บัตร Citi M Visa  ลด 5% เมื่อซื้อสินค้าในตัวห้างฯ ฯลฯ

หากเราเติมน้ำมันบ่อยๆ เลือกบัตรที่มี cash back ที่คืนเงินให้สูงๆ เช่น บัตร SCBT (Standard Chartered) 4-7% ทุกๆ800บาท ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละบัตรและระยะเวลาของโปรโมชั่น รายละเอียดเพิ่มเติมหาอ่านได้ที่เว็ปไซต์ของธนาคารผู้ออกบัตร

-  หากเราจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ เองอยู่แล้ว หากชำระตามตัวแทน เช่น 7-eleven ก็จะมีค่าธรรมเนียม 15บาท หากเราผูกกับบัตรเครดิต ก็จะไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม แถมบัตรเครดิตของบางธนาคารยังสะสมคะแนนให้อีกด้วย เช่น บัตรเครดิตของกสิกรไทย (บัตรเครดิตส่วนใหญ่ จะไม่สะสมคะแนนให้การชำระค่าสาธารณูปโภค)

ระวังค่าธรรมเนียมรายปี ส่วนใหญ่จะได้สิทธิ์ฟรีค่าธรรมเนียมปีแรก ในปีถัดไปต้องมีการใช้จ่ายรายเดือน/รายปีครบตามที่ธนาคารกำหนด แต่หากใช้จ่ายไม่ถึงจริงๆ ก็สามารถโทรไปขอละเว้น (Wave) ค่าธรรมเนียมรายปีได้เมื่อครบปี แต่พอถึงเวลา ใครจะมานั่งจำว่าครบปีแล้ว จึงควรพยายามหลีกเลี่ยงบัตรที่มีค่าธรรมเนียมรายปี ดีที่สุด หรือรอจนมันคิดค่าธรรมเนียมรวมอยู่ใน Statement แล้ว ค่อยโทรไปขอละเว้น ทางธนาคารก็จะให้ชำระแค่ยอดที่ยังไม่รวมค่าธรรมเนียม หรือหากขอละเว้นไม่ทัน ทางธนาคารก็จะเครดิตเงินคืนกลับมาให้ ในรอบบิลถัดไป

จดบันทึกสิ่งสำคัญหลักๆ ของบัญชีบัตรเครดิต เมื่อ ได้บัตรที่ถูกใจ แล้วก็ควรจดบันทึกหรือเก็บบิลรายเดือนไว้ เพื่อใช้ดูและติดตามชำระบัตรในแต่ละรอบบิล สิ่งสำคัญดังกล่าว ได้แก่ วันตัดรอบบิล (Cut-off Date) วันครบกำหนดชำระ (Payment Due Date) วงเงินบัตรเครดิต (Credit Line) หรืออาจจะดูดอกเบี้ย (Interest Rate) ดูเผื่อไว้กันพลาด ส่วนใหญ่ธนาคารจะให้เครดิตระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยสูงสุดถึง 45-55 วัน หรือนับเป็น 15-25 วันนับจากวันตัดยอดบิล

-  KTC, กสิกร, กรุงเทพ, Citibank 15 วัน

Central Card 20 วัน

SCBT (Standard Chartered) 25 วัน

วางแผนรายรับรายจ่าย เมื่อ ทราบวันครบกำหนดชำระแล้ว ก็วางแผนรายรับรายจ่ายของตนเอง เพื่อให้เหลือเงินเพียงพอมาชำระหนี้ภายในวันที่กำหนด เท่านี้ก็จะไม่สร้างความเดือดร้อนให้ตนเองในภายหลัง เพื่อให้มั่นใจว่าเราไม่ลืมชำระบัตรทุกงวด เราสามารถชำระบัตรเครดิตโดยหักจากบัญชีได้ (Direct Debit) ควรเปิดบัญชีออมทรัพย์ของธนาคารเดียวกันกับบัตร เพื่อไม่ให้เสียค่าธรรมเนียมในการหักผ่านบัญชี บางบัตรสามารถหักจาก บัญชีของ ธนาคารอื่นได้โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม เช่น บัตร Citibank สามารถหักบัญชีธนาคารกสิกร กรุงเทพ กรุงศรีอยุธยา และไทยพาณิชย์ ได้ วิธีนี้บางท่านที่กลัวว่ารายจ่ายจะไม่ได้อยู่ในการควบคุม หมั่นนำสมุดคู่ฝาก (Passbook) ไปอัพเดทบ่อยๆ เพื่อตรวจดูความเคลื่อนไหว ซึ่งเดี๋ยวนี้สามารถเช็คผ่านทาง Online Banking หรือ Telephone Banking ได้แล้ว

ใช้บัตรให้เหมาะสมกับสินค้าและบริการ เมื่อถึงคราวหยิบบัตรออกจากกระเป๋าสตางค์เพื่อใช้รูดซื้อสินค้าและบริการ อย่าลืมสังเกตุว่าสินค้านั้นๆ อยู่ในรายการโปรโมชั่นบัตรเครดิตที่จัดร่วมกับบัตรเครดิต ที่เราถืออยู่ใช่หรือไม่

หากใช่ >> ก็ตรวจดูเงื่อนไขโปรโมชั่นบัตรเครดิตในการใช้ด้วย เพื่อให้มั่นใจว่าเราเล่นเกมตรงตามกติกาแล้วนะ เธอทำอะไรชั้นไม่ได้หรอก หึหึหึ!! 

หากไม่ใช่ >> ก็ไม่เป็นไร หยิบบัตรใบที่เราใช้บ่อยที่สุดขึ้นมาใช้ (เพราะยังไงเดือนนี้ ชั้นก็ต้องไปชำระบัตรใบนี้อยู่แล้ว) หรือบัตรใบที่คิดว่าสะสมคะแนนได้ดีที่สุด เพราะแต่ละธนาคาร ของรางวัลหรือบัตรกำนันที่เสนอนั้นคล้ายๆ กันหมด เลือกเอาตามอัธยาศัยเลยจ้า


ที่มา: http://nutthunnie.blogspot.com/2012/01/blog-post.html

วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บัตรเงินสด จำเป็นกับชีวิตคุณอย่างไร




ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับบัตรเงินสดกันก่อนดีกว่า บัตรเงินสดเป็นเครื่องมือทางการเงินที่มีประโยชน์มากอย่างนึง มีลักษณะเดียวกับสินเชื่อ แต่เป็นสินเชื่อแบบพร้อมใช้ ซึ่งได้รับการอนุมัติล่วงหน้า หรือจะเรียกว่า วงเงินสดสำรองก็ได้เพื่อใช้จ่ายในยามจำเป็น หรือเหตุการณ์ฉุกเฉินที่ไม่คาดฝัน ซึ่งสามารถนำเงินมาใช้จ่ายได้ทันที แต่จะเสียดอกเบี้ยตั้งแต่วันแรกที่เบิกเงินสดจากบัตรมาใช้

แล้วบัตรเงินสดต่างจากบัตรเครดิตอย่างไร
ทั้งบัตรเงินสดและบัตรเครดิตออกโดยสถาบันการเงิน แต่สิ่งที่ทำให้ 2 เครื่องมือ ทางการเงินนี้แตกต่างกัน คือ ถ้าคุณใช้บัตรเครดิตชำระค่าสินค้าและบริการ คุณจะสามารถยืดระยะเวลาการชำระหนี้ได้ 45-55 วัน ในขณะที่บัตรเงินสดนั้น เมื่อคุณใช้ชำระค่าสินค้าและบริการ สถาบันการเงินจะคิดดอกเบี้ยกับคุณทันที

มีบัตรเงินสดไว้ ไม่เสียหาย
คุณไม่มีทางรู้ได้เลยว่า เหตุการณ์ฉุกเฉิน จะเกิดขึ้นกับคุณได้เมื่อไหร่ ถ้าวันดีคืนดีคุณไม่สบายหนัก เช้าโรงพยาบาล แล้วคุณไม่มีเงินสดที่คุณสำรองเอาไว้ ทางเลือกของคุณก็อาจจะจำกัดเหลือเพียง ยืมเงินจากญาติพี่น้อง หรือกู้เงินนอกระบบ ถ้าคุณเลือกการกู้เงินนอกระบบ คุณคงต้องเจอกับดอกเบี้ยมหาโหด อาจจะ 20% ต่อเดือน ซึ่งแพงกว่า และน่ากลัวกว่าการใช้บัตรเงินสด ซึ่งดอกเบี้ย เพียง 20% ต่อปี หรือคิดง่ายๆ ว่า ถูกแพงต่างกันถึง 12 เท่าตัว เลยทีเดียว

บัตรเงินสดต้องใช้อย่างระมัดระวัง
การใช้บัตรเงินสดทําบัตรกดเงินสดนั้น คุณต้องใช้อย่างระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง เพราะสถาบันการเงินจะคิดดอกเบี้ยกับคุณทันทีที่คุณใช้ชำระค่าสินค้าและบริการหรือกดเงินสดจากวงเงินของบัตรนั้น ดอกเบี้ยที่สถาบันเงินจะคิดกับคุณนั้น สูงถึง 20% ต่อปี และยังไม่รวมค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่สถาบันการเงินเรียกเก็บจากคุณ เช่น ค่าธรรมเนียมการเบิกเงินสด ครั้งละ 3% เป็นต้น

3 เทคนิคการใช้ บัตรเงินสดอย่างระมัดระวัง
1.  ใช้บัตรเงินสดเมื่อมีโปรโมชั่น ผ่อน 0%

คุณไม่รู้หรอกว่าต้องจ่ายไปแพงขนาดไหน ที่จะทำให้ออกมาถูกขนาดนี้” เป็นคำพูดของ Steven Tyler นักร้องนำวง Aerosmith ชาวอเมริกัน

บัตรเงินสดมักจะมีรายการส่งเสริมการขายกับร้านค้าต่างๆ เช่น ซื้อสินค้าและบริการ ด้วยการผ่อนซื้อสินค้า ดอกเบี้ย 0% สูงสุด 10 เดือน ซึ่งมีประโยชน์มากสำหรับคุณ เพราะร้านค้าจะต้องเป็นผู้ชำระดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นแทนตัวคุณ ถ้ามองในแง่ของผลประโยชน์ที่คุณจะได้รับนั้น สำหรับสินค้าบางชิ้น ถ้าคุณซื้อด้วยเงินสดต้องรอเก็บเงินเป็นปีกว่าจะซื้อได้ แต่ถ้าคุณทําบัตรกดเงินสดชำระผ่านบัตรเงินสดคุณสามารถผ่อนซื้อสินค้าดอกเบี้ย 0% นอกจากนี้คุณจะไม่เสียโอกาสซื้อสินค้า คุณยังบไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากดอกเบี้ยซักบาทเดียว

2.  ใช้บัตรเงินสดเมื่อฉุกเฉินเท่านั้น

“ในยามฉุกเฉิน ทำในสิ่งที่เพื่อนคุณบอกเหอะ” เป็นคำพูดของ Monique Coleman นักธุรกิจ นักร้องและนักแสดง ชาวอเมริกัน

ในยามฉุกเฉิน เช่น ตัวคุณ ญาติพี่น้อง คนที่เรารักเจ็บป่วยเข้าโรงพยาบาล แล้วคุณไม่มีเงินสดสำรองที่เพียงพอจะจ่ายค่ารักษาพยาบาล เวลานั้นบัตรเงินสดจะเป็นเพื่อแท้ของคุณทีเดียว เพราะถ้าคุณไม่มีบัตรเงินสด ทางเลือกของคุณอาจจะเหลือแค่กู้เงินนอกระบบ ดอกเบี้ยเดือนละ 20% และอาจจะเจอเจ้าหนี้ทวงหนี้โหด ทำลายข้าวของบ้านคุณก็เป็นได้ สำหรับในเวลาปกติ คุณก็ไม่ควรจะนำบัตรเงินสดมาใช้พร่ำเพรือ เพื่อรักษาวินัยทางการเงินของตัวคุณเองอีกด้วย

3.  จ่ายชำระให้ตรงเวลา

“มันไม่ต่างอะไรกับการโกง ถ้าคุณยืมตังคนอื่นไป ทั้งๆ ที่ไม่รู้จะจ่ายยังไง” เป็นคำพูดของ Publilius Syrus นักปราชญ์ชาวซีเรีย ที่มีชีวิตอยู่ในยุครุ่งเรือง จักรวรรดิโรมัน

เมื่อคุณเลือกที่จะใช้บัตรเงินสดทําบัตรกดเงินสดแล้วคุณต้องมีความรับผิดชอบกับการใช้มันด้วย ถ้าคุณชำระหนี้ตรงเวลาคุณก็จะไม่โดนค่าธรรมเนียมอื่นๆ ที่คุณไม่ควรจะเสีย เช่น ค่าตามหนี้และค่าปรับที่คุณจ่ายช้า มันจะทำให้ฐานะทางการเงินและวินัยทางการเงินย่ำแย่ไปกันใหญ่ แล้วเวลาสถาบันการเงินทวงหนี้ที่เกิดจากบัตรเงินสดมันก็ดูวุ่นวายกับชีวิตคุณมาก โทรจิกคุณทั้งเช้า ทั้งเย็น เพื่อให้คุณจ่ายให้ได้นอกจากจะสร้างความรำคาญให้คุณแล้ว ยังทำให้คุณเสียงาน เสียการไม่เป็นอันทำมาหากินอีกด้วย


วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บัตรเครดิตคืออะไร? เลือกใช้บัตรเครดิตอะไรดี?



หลายคนเคยสงสัย ว่าทำไมเราต้องใช้บัตรเครดิต ทำไมต้องสมัครบัตรเครดิต และบัตรเครดิตคืออะไร มีไว้ทำอะไรได้บ้าง ทำไมเราไปช้อปปิ้งที่ไหน ก็มีแต่คนรูดบัตรเครดิต เดินตามห้างสรรพสินค้า และร้านค้าทั่วไป ก็จะมีโปรโมชั่นบัตรเครดิตเยอะแยะมากมาย บัตรเครดิตกำลังบูมล้นอยู่ในตลาด ไม่ใช่ว่าเพิ่งจะบูม มันบูมมานานแล้ว หากแต่ว่า กำลังจะยิ่งบูมมากขึ้น ด้วยความที่ใช้ง่าย จ่ายคล่อง และมีคู่แข่งอยู่แทบทุกธนาคาร ก่อนอื่นเรามาดูกันว่า บัตรเครดิตคืออะไร ทำอะไรได้บ้าง และทําบัตรเครดิตมีข้อดีข้อเสียอย่างไร

บัตรเครดิตคืออะไร ความแตกต่าง ระหว่างบัตรเครดิตและบัตรเดบิต
บัตรเครดิต คือ บัตรที่เราได้รับวงเงิน (Credit) อนุมัติจากธนาคาร เหมือนเป็นการยืมเครดิตจากธนาคารในการใช้รูดซื้อสินค้า ภายในวงเงินที่ได้รับ โดยไม่จำเป็นจะต้องมีเงินอยู่ในบัญชี หรือฝากไว้อยู่ในบัตรเลยก็ตาม แล้วจึงค่อยชำระเงินในภายหลังตามรอบบัญชีแต่ละเดือน

บัตรเดบิต คือ บัตรที่เราจะสมัครคู่กับบัญชีออม ทรัพย์ของธนาคารที่เรามีบัญชีอยู่ บัตรจะผูกกับบัญชีเสมอ หลายคนอาจเข้าใจว่ามันคือบัตรเอทีเอ็ม ที่สามารถกดเงินสด โอนเงิน หรือชำระเงินได้ แต่ที่จริงแล้ว บัตรเดบิตทำได้มากกว่าบัตรเอทีเอ็ม มันสามารถรูดซื้อสินค้าได้ด้วย ให้สังเกตบัตร จะมีสัญลักษณ์ วีซ่าอิเลคตรอน Visa Electron อยู่บนหน้าบัตร

หากเปรียบเทียบบัตรเครดิตและบัตรเดบิต ต่างกันตรงที่ การใช้บัตรเดบิตนั้น เราจะต้องมีเงินในบัญชีก่อนเท่านั้น เนื่องจากบัตรจะหักเงินจากบัญชีออมทรัพย์ที่ผูกไว้ทันที ไม่เช่นนั้น จะรูดซื้อสินค้าไม่ผ่าน ส่วนความเหมือนของทั้งคู่ คือ สามารถนำมากดเงินสดได้เหมือนกัน แต่อย่าเรียกว่าเหมือนเลย เดี๋ยวจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิด หากกดเงินสดจากบัตรเครดิต (Cash Advance) จะมีค่าธรรมเนียม 3% ขั้นต่ำ 300-500บาท แล้วแต่ธนาคาร และยอดเงินที่กด จะถูกนำไปคิดใน statement ว่าเรายืมธนาคารมาใช้เป็นเงินสดเท่าไหร่ และยังถูกคิดดอกเบี้ยสำหรับยอดเงินที่กดมาใช้อีก หากเราไม่ได้ชำระเงินตรงตามกำหนด ซึ่งไม่นิยมใช้กดกัน เพราะว่าดอกเบี้ยสูงถึงประมาณ 25-28% ต่อปี ในขณะที่บัตรเดบิตให้ใช้กดเงินสดที่มีอยู่แล้วในบัญชีออกมาใช้โดยไม่เสียค่า ธรรมเนียมใดๆ หากกดที่ตู้ของธนาคารเดียวกัน

ในการใช้บัตรเครดิตนั้น หากเราชำระบัตรเครดิตตรงตามกำหนดทุกงวด การใช้บัตรเครดิตก็จะไม่เป็นปัญหาสำหรับเรา แต่ด้วยความสะดวกในการรูดซื้อสินค้าอาจส่งผลให้เราใช้จ่ายเกินตัว และไม่สามารถชำระ "หนี้" ได้ทัน ก็จำต้องจ่ายดอกเบี้ยตามข้อเสนอของธนาคาร โดยชำระขั้นต่ำเพียง 10% และจ่ายดอกเบี้ยอีกประมาณ 20% ต่อปี นี่คือสาเหตุที่ธนาคารพยายามเชิญชวน (ยัดเยียด) ให้เราใช้บัตรเครดิต บ้างก็ส่งบัตรมาให้ใช้ถึงที่บ้าน เพียงแค่โทรไปเปิดบัตร ก็สามารถใช้งานได้แล้ว

สิทธิประโยชน์ต่างๆ และข้อดีของบัตรเครดิต
1.  มีสิทธิประโยชน์ที่จูงใจผู้ใช้ในหลายหลายรูปแบบ เช่น
    - ได้เงินคืน (Cash Back) เงินเครดิตคืนเข้าบัตรในภายหลัง
    - ได้ส่วนลด (Discount)  ได้ส่วนลดทันที ณ ที่จ่าย
    - สะสมคะแนน (Point Reward) สามารถนำไปแลกของหรือคูปองแลกซื้อสินค้าได้อีก
    - สามารถแบ่งจ่าย (Pay Lite) เช่น ชำระ 0% 3, 6, 10 เดือน ฯลฯ

2.  พกง่าย ขอแค่จำลายเซนต์ได้ก็พอ และไม่ต้องพกเงินสดติดตัวเป็นจำนวนมาก (บัตรเดบิตก็ทำได้ หากคุณมีเงินในบัญชีพอ)

3.  สามารถซื้อสินค้ามาครอบครองได้เลย โดยไม่ต้องจ่ายเงินในทันที  และมีโอกาสนำเงินจำนวนนั้นๆไปลงทุนระยะสั้นหรือเก็งกำไรอย่างอื่นได้

4.  สามารถใช้ชำระค่าสาธารณูปโภค และค่าบริการอื่นๆได้ หรือจะหักจ่ายตามรอบบิล Smart Billing ได้อีกด้วย (ข้อนี้สะดวกมากสำหรับคนที่ไม่มีเวลาไปตามจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าอินเตอร์เน็ต ฯลฯ) รวมทั้งสามารถใช้ซื้อของออนไลน์ผ่านเพย์สบาย (Paysbuy) หรือ เพย์พอล (Paypal) นั่นเอง

5.  มีไว้เท่ห์ๆ หรืออวดฐานะ จากประเภทบัตร เช่น บัตรโกล์ด บัตรแพลตตินัม บัตรอีลิท ฯลฯ (สำหรับพวกวัตถุนิยม)

ข้อเสียของการใช้บัตรเครดิต
1.  เพิ่มหนี้สินให้ตัวเอง และสร้างความกังวลในการชำระหนี้ในภายหลัง ว่าจะครบกำหนดชำระเมื่อไหร่ ยอดจำนวนเท่าไหร่ เป็นต้น

2.  หากไม่ชำระภายในวันที่กำหนดหรือไม่ได้ชำระเต็มจำนวน จะมีค่าปรับ + ดอกเบี้ย ให้ต้องชำระเพิ่มอีก

3.  ดอกเบี้ยสูง เป็นภาระหนี้เพิ่ม นอกจากจะต้องชำระหนี้เงินต้นแล้วยังมีดอกเพิ่มให้ปวดหัว

4.  สร้างความเคยตัวในการใช้เงิน เพิ่มความฟุ่มเฟือยในชีวิตประจำวัน

สำหรับใครที่อยากสมัครบัตรเครดิตก็ควรจะดูกำลังในการใช้จ่ายของตัวเอง เมื่อมีบัตรเครดิตแล้วก็ควรจะทำบัญชีรายรับรายจ่ายเพื่อไม่ให้เป็นหนี้และเสียเครดิตได้ เพราะการมีบัตรเครดิตนั้นก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ขึ้นอยู่ที่การใช้งานของเราเท่านั้นเอง